จุดประสงค์ของบล็อคนี้ ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และความสนใจเกี่ยวกับดีเอ็นเอในส่วน telomere และเอ็นไซม์ Telomerase ให้กับผู้ที่สนใจ เช่น นักเรียน นักศึกษาชาวไทยได้อ่านเพื่อเพิ่มเติมความรู้ และอัพเดทข้อมูล อีกทั้งยังเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจจะประสานความร่วมมือในการทำการวิจัยเกี่ยวกับดีเอ็นเอ และเอ็นไซม์นี้ทั้งทางศาสตร์เกี่ยวกับผู้สูงอายุ (gerontology) และวิทยามะเร็ง (oncology) โดยผมจะพยายามหาข้อมูลใหม่ๆ มาอัพเดท และอาจจะเชิญเพื่อนๆที่เป็นนักวิจัยเหมือนกันมาเขียนบทความที่น่าสนใจให้อ่านกันเป็นระยะๆ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
แอบมาอ่าน
ReplyDeleteขอบคุณครับ
ReplyDeleteอ่อนแอเรื่อง DNA และ RNA มากๆเลยค่ะ เลยสงสัยว่าแล้ว DNA กับความเครียด ความแก่มันเกี่ยวกันตรงไหน มันแบ่งเซลล์ไปทำให้ telomere หดสั้นได้อย่างไร...ช่วยทำให้ฉลาดขึ้นหน่อยนะคะ....ขอบคุณค่ะ
ReplyDeleteในเซลล์ปกติ ระหว่างการเผาผลาญพลังงานจะเกิดผลผลิตของโมเลกุลที่มีประจุที่แยกออกจากสารต่างออกมา (electron transport chain) เมื่อมันรวมตัวกัน เกิดเป็น Reactive oxygen species (ROS) หรือที่ฟังดุง่ายๆหน่อยก็คือ พวก oxidant (ที่เราทาหรือทานพวก antioxidant ไงครับ) พวก ROS เหล่านี้มีการทดลองพบว่ามันสามารถทำลาย DNA ได้ โดยเฉพาะที่ปลายของดีเอ็นเอ หรือ telomere (แต่ยังไม่เคยมีการทดลองในสัตว์ทดลองจริงที่ยืนยันทฤษฏี oxidant-antioxidant ที่เห็นชัดๆแน่ๆจริงๆเลยครับ เรื่องนี้เป็นเพียงการทดลองกับเซลล์ในหลอดทดลองเท่านั้น) มีเอ็นไซม์หลายๆตัวที่ถูกหลั่งออกมาเมื่อเกิดสภาวะเครียด ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการ metabolism ของเซลลื และอาจเกี่ยวโยงกับการสร้าง ROS หรือการทำงานของ antioxidant ที่เรามีอยู่ตามธรรมชาติได้ นอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่มีผลกระทบต่อปริมาณของ ROS ใน mitochondria ที่ส่งผลถึง pathway อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการแก่ของเซลล์ก็ยังมี ไม่ใช่เฉพาะ telomere เท่านั้น ดังนั้น ความแก่ของเซลล์ หรือ senescence จริงๆมันเกิดจากหลายปัจจัย โดยที่ปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็คือความเสียหายของ DNA และ การสั้นลงของ telomere เท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับความแก่ (ของเซลล์หรือแม้แต่สภาวะกายวิภาคภายนอก) อีกด้วยครับ
Deleteเราไม่เข้าใจเรื่องการหาความยาวจองเทโลเมียร์อ่ะค่ะ ช่วงอธิบายเกี่ยวการหาค่า T/S ให้หน่อยได้มั๊ยคะ ขอบคุณค่ะ ��
ReplyDelete